นายเชษฐา คงพลปาน

นายเชษฐา คงพลปาน
ครูประจำแผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น


เป็นการศึกษาโดยการควบคุมการไหลและเคลื่อนตัวของอิเล็กตรอน ที่มีประจุไฟฟ้าในอุปกรณ์ต่างๆเช่น สารกึ่งตัวนำชนิดต่างๆ ซึ่งต้องวิจัยและพัฒนาไปเรื่อยๆ เพื่อหาเทคโนโลยี่ที่ใหม่กว่าอยู่เสมอ ความรู้ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันถูกใช้ในงานต่างๆมากมาย เช่นใช้ในงานควบคุม ประมวลผล ส่งข้อมูล


วงจรอิเล็กทรอนิกส์ คือ วงจรที่ประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ตัวต้านทาน ไดโอด ทรานซิเตอร์ ซิลิคอนชิป ที่ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณกระแสไฟฟ้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด ทำให้มนุษย์มีอุปกรณ์ในการอำนวยความสะดวกสบายมากขึ้น


อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นอุปกรณ์ที่ควบคุมปริมาณและทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดล้วนมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เป็นส่วนประกอบ ซึ่งมีหลายชนิดดังจะกล่าวกันในบทความ

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ประโยชน์

การต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ประโยชน์

ในการต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์เราควรจะเข้าใจการทำงานทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อช่วยให้เข้าใจการทำงานของเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ มากขึ้น และสามารถนำมาพัฒนาคุณภาพของอุปกรณ์ร่วมต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ควรศึกษา ได้แก่

1. การต่อวงจรตัวต้านทาน ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์การต่อตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้ ต้องต่อวงจรแบบอนุกรม เพราะตัวต้านทานชนิดนี้สามามารถควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร ให้ไหลมากหรือน้อยตามต้องการ



รูปแสดงการต่อไดโอดเปล่งแปลง

2. การต่อวงจรไดโอดเปล่งแสง การต่อไดโอดเปล่งแสงในวงจรอิเล็กทรอนิกส์จะต้องต่อตัวต้านทานไว้ในวงจรด้วย เนื่องจากกระแสไฟฟ้าเล็กน้อยก็ทำให้ไดโอดเปล่งแสงทำงานได้ ดังนั้นจึงต้องต่อตัวต้านทานไว้ในวงจรด้วยเพื่อลดปริมาณกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านไดโอดในปริมาณที่พอเหมาะ


รูปแสดงการต่อไดโอดเปล่งแปลง


3. การต่อวงจรทรานซิสเตอร์ การที่จะทำให้ทรานซิสเตอร์ ทำงานได้ต้องจ่ายไฟให้ที่ขาเบส (B) ซึ่งเป็นขาที่มีหน้าที่ในการควบคุมกระแสไฟฟ้าที่จะไหลจากขาคอลเลกเตอร์ไปสู่ขาอิมิตเตอร์ กล่าวคือหากให้กระแสไหลที่ขาเบสมาก จะทำให้กระแสไหลผ่านขาคอลเลกเตอร์ไปสู่ขาอิมิตเตอร์มาก แต่ถ้าให้กระแสไหลที่ขาเบสน้อย กระแสที่จะไหลผ่านขาคอลเลกเตอร์ไปสู่ขาอิมิตเตอร์น้อยลงไปด้วย ดังนั้นด้วยหลักการทำงานของทรานซิสเตอร์นี้ ก็จะสามารถนำทรานซิสเตอร์ไปประกอบในวงจรต่างๆ ได้มากมาย โดยเฉพาะในวงจรที่ต้องการควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร












วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552